วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2559



การทำบุญตักบาตรของคนภูไท

     ชาวภูไทส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ในทุกเช้าก็จะพากันตักบาตรยามเช้าอยู่หน้าบ้านพอทำบุญตักบาตรเสร็จก็กรวดน้ำรับพรเเก่พระสงฆ์  เพื่อเป็นบุญกุศลเเก่ญาติที่เสียชีวิตเเร้วเเละยังเป็นบุญเเก่ตัวเองอีกด้วย  หรือพอถึงวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนาชาวภูไทก็จะพากันลงทำบุญตักบาตรอยู่ในวัด  เเละพอถึงตอนเย็นผู้เฒ่าผู้เเก่ก็จะพากันลงวัด สวดมนต์ เเละทำสมาธิอญุ่เป็นประจำ พอถึงวันพระชาวภูไทมักจะทำข้าวต้มมัดเเละขนมมเนยเพื่อนำลงไปใส่บาตร ในที่นี้การทำบุญตักบาตรก็ถือเป็นกิจจังวัดประจำวันของคนภูไท



ทำบุตรตักบาตร



พระสงฆ์บินฑบาตร



ตักบาตร




ตักบาตร




นั่งรอพระสงฆ์มาบินฑบาตร


การเเต่งกายของคนภูไท

ผู้ชาย นิยมนุ่งกางเกงขาก๊วย สีดำหรือนุ่งโสร่งตาหมากรุก เสื้อใช้ผ้าสีครามหรือดำชนิดเดียวกับกางเกง สวมเสื้อคอกลมแคบชิดคอหรือคอจีน 
ผู้หญิง นิยมนุ่งผ้าซิ่นที่ทำจากผ้า ซึ่งลักษณะเด่นของซิ่นภูไท คือ การทอและลวดลายเช่น ทอเป็นลายนาคเล็กๆ ต่อด้วยหัวซิ่นและตีนซิ่นทั้งขิดและจก นอกจากนี้ยังพบผ้ามัดหมี่ฝ้ายสีขาวสลับดำย้อมใบครามหรือมะเกลือสีดำ เย็บต่อด้วยหัวซิ่นตีนซิ่น



ชุดของคนภูไท




ชุดภูไท





การเเต่งกายภูไท


วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


อาหารของชาวภูไท
 
          ชาวภูไททุกเพศทุกวัย  มักจะนำอาหารจากธรรมชาติมาเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารในเเต่ละวัน  เช่น  นำปลาจากเเหล่งธรรมชาติมาประกอบอาหาร ปลาที่พบมากในเเถบนี้คือ  ปลาช่อน  ปลานิล  ปลาหมอ ปลาดุก เป็นต้น  นอกจากนั้นยังมีอาหารประเภทต่างๆอีกมากมาย เช่น ส้มตำ ทำมาจากมะละกอที่ปลูกไว้ในบ้านหรือสวน ส้มตำถือเป็นอาหารขึ้นชื่อของภาคอีสานเเละชาวภูไทก็ว่าได้ ของหวานข้าวดำ ทำมาจากข้าวที่ปลูกไว้ในนา ภาษาอีสานเรียกว่า "ข้าวก่ำ"  ยังมีอาหารอีกมากมายที่อยากให้ผู้คนต่างถิ่นได้มาลิ้มรสกันค่ะ



อาหารของขาวภูไท


ข้าวต้มมัด


ของหวานข้าวดำ


สังขยาฟักทอง



วิธีจับปลามาทำอาหาร


ส้มตำ






สถานณ์ที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชาวภูไท

           ชาวภูไทส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งสถานณ์ที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชาวภูไท คือ "วัด"  พอถึงทุกๆวันพระชาวภูไทจะพากันลงไปทำบุญตักบาตรในช่วงเช้า  พอถึงตอนเย็นผู้เฒ่าผู้เเก่จะลงไปสวดมนต์ทำสมาธิเป็นประจำ ในวันสำคัญทางศาสนาต่างๆ เช่น วันเข้าพรรษา บุญข้าวประดับดินวันมาฆบูชา  วันวิสาขบูชา  วันออกพรรษา ชาวบ้านจะพากันลงทำบุญ  ทำความสะอาดวัดเเละบริเวณต่างๆ ในหมู่บ้าน  วัดจึงถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวภูไทก็ว่าได้

โบราณสถานกุฏิวัดโพธิ์ชัย


ทางเข้าวัดประตู
                                                                           


อุโบสถประจำวัด


อาชีพของคนภูไท
                คนภูไทส่วนมากจะมีอาชีพทำนา ซึ่งจะมีการทำนาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน ในเดือนมิถุนายนจะเริ่มไถนาเเละหว่่านกล้า พอถึงเดือนกรกฎาคมที่เป็นช่วงฤดูฝนชาวนาก็เริ่มดำนาเเละจากนั้นก็จะดูเเลข้าวโดยการใส๋ปุ่ย ดายหญ้า จนไปถึงกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ข้าวจากที่มีสีเขียวก็จะเริ่มมีสีเหลืองทองพร้อมที่จะให้ชาวนาเก็บเกี่ยวผลผลิต จากทำนาของชาวภูไทจะเป็นการทำนาโดยการเลี้ยงตัวเอง ถ้าเหลือจากการบริโภคก็จะจำหน่ายหรือเเจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้าน




จากข้าวที่เป็นสีเขียว



ก็กลายมาเป็นข้าวสีเหลืองทอง


ชาวนากำลังเกี่ยวข้าวกันอย่างขยันขันเเข็ง


การสีข้าวของชาวภูไท